วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษElectronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน

ข้อดี

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
  • ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
  • การเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
  • ผู้ขายสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ทุกวัน

ข้อเสีย

  • ผู้ซื้ออาจไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อแล้วจะได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
  • สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
  • เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
  • ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
  • ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ

การจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered)
เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือย่ายอินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานเขตที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำหรับภูมิภาค สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล โดยเว็บไซต์ที่จดทะเบียนแล้ว จะปรากฏเครื่องหมาย Registered อยู่บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบสถานะและการมีอยู่จริงของผู้ประกอบการ และรายชื่อผู้ประกอบการทั้งหมดจะรวบรวมอยู่ในฐานข้อมูลผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Verified) 
เพื่อรับรองมาตรฐานการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งผู้ประกอบการสามารถขอเครื่องหมายฯ ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.trustmarkthai.com โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการที่จะได้รับเครื่องหมายฯ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน และผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้อ้างอิงจากมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อให้เป็นสากล และยอมรับอย่างแพร่หลาย

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบ Internet TV


Internet TV คืออะไร? 


Internet TV ก็คือทีวีที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนตและสามารถใช้งานอินเทอร์เนตได้ (แบบเดียวกับที่เราใช้งานอินเทอร์เนตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องโน๊ตบุ๊ค) และสามารถใช้ระบบสืบค้น ค้นหา รายการข่าว รายการเพลง รายการกีฬา ละคร ภาพยนต์ รูปภาพ ฯลฯ และแสดงผลผ่านทางหน้าจอแสดงผล

แนวความคิดเรื่อง Internet TV ก็เกิดมาจากพื้นฐานการรับชมข่าวสารในปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยนมารับชมข่าวสารผ่านทางสื่ออินเทอร์เนตมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากความรวดเร็วของการข่าวสาร และสามารถที่จะเลือกรับชมเฉพาะข่าวสารที่เราสนใจเท่านั้น

Internet TV หรือที่ตอนนี้รู้จักกันในชื่อของ Google TV เป็นแนวคิดที่ Google ร่วมมือกับผู้ผลิตทีวี ให้ผลิตทีวีที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เนตได้ และใช้ความสามารถของระบบค้นหาข้อมูล (ซึ่งเป็นเครื่องมือทำเงินอันทรงพลังของ Google) ค้นหารายการทีวีประเภทต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายจากผู้ให้บริการทางอินเทอร์เนต ซึ่งมีทั้งแบบเสียเงิน (Video on Demand) ทั้งแบบรายเดือน อย่างเช่น เว็บไซต์ Netflix (ซึ่งให้ทดลองชมฟรีในเดือนแรก) หรือแบบเป็นเรื่อง อย่างเช่น ภาพยนต์จากเว็บไซต์ Amazon หรือ เว็บไซต์ Youtube ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย

จริงๆ แล้ว ก่อนหน้าที่ทาง Google จะเปิดตัว Internet TV ทางฝากฝั่งของบริษัท Apple ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Apple TV ซึ่งให้บริการแบบ Video on Demand ผ่านทาง Apple Store มาก่อน ซึ่งเราสามารถซื้อ และโหลดภาพยนต์มาเก็บไว้ในเครื่อง Apple TV ของเราไว้รับชมได้ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากนัก แต่หลังจากที่ทาง Google เปิดตัว Google TV และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทาง Apple จึงพัฒนา Apple TV ทั้งในเรื่องของการบริการให้มีความสามารถมากขึ้น และมีราคาถูกลงเพื่อให้สามารถสู้กับ Google TV ได้ ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราคงจะรู้ผลแพ้ชนะกันในไม่ช้านี้

เราไปดูรายละเอียดความสามารถต่างๆ ของ Internet TV กันต่อครับ
















สามารถใช้งานอินเทอร์เนต ค้นหาและแสดงผลเว็บไซต์ต่างๆ ได้เหมือนกับการท่องอินเทอร์เนตจากคอมพิวเตอร์ทั่วไป



สามารถค้นหาและแสดง รายการข่าว รายการบันเทิง ภาพยนต์ ผ่านแชนแนลของผู้ให้บริการทางเว็บไซต์ หรือผ่านทางแอพลิเคชั่นของผู้ให้บริการ ซึ่งมีทั้งแบบเสียเงินและฟรี

สามารถสร้างเมนูจากรายการทีวีที่คุณชื่นชอบ หรือแชนแนลของผู้ให้บริการที่คุณสนใจเก็บเอาไว้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน



















สามารถสลับการใช้งานอินเทอร์เนตกับการรับชมทีวีได้ตลอดเวลา หรือสามารถใช้งานทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กันก็ได้

สามารถบันทึกรายการทีวีที่คุณสนใจเอาไว้รับชมในภายหลังได้ สำหรับความสามารถในการบันทึกราการทีวีจำเป็นต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครใช้งานอีกเล็กน้อย 


สำหรับสองข้อสุดท้ายนี้ถือเป็นทางเลือกก็แล้วกัน โดยสามารถลงแอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและใช้โทรศัพท์เครื่องนั้นเป็นรีโมทได้ หรือสามารถใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของคุณบันทึกสิ่งที่คุณพบเห็น ผ่านอินเทอร์เนตไปยัง Internet TV ของคุณที่บ้านได้ด้วย


ในขณะนี้รูปแบบของ Internet TV แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบแรก มีลักษณะเป็นเครื่องทีวีที่สามารถต่ออินเทอร์เนตได้พร้อมรีโมทรูปร่างเหมือนคีย์บอร์ดเพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานบนหน้าจอและเล่นอินเทอร์เนตไปพร้อมๆ กัน แบบที่สอง ลักษณะเป็นกล่องเครื่องเล่นที่สามารถต่ออินเทอร์เนตได้พร้อมรีโมทรูปร่างเหมือนคีย์บอร์ด ซึ่งแบบที่สองนี้ทำให้เราไม่จำเป็นต้องซื้อทีวีเครื่องใหม่ให้สิ้นเปลือง แต่สามารถใช้กล่องเครื่องเล่นนี้ เชื่อมต่อกับอินเทอร์เนตแล้วต่อสัญญาณไปยังทีวีอีกต่อหนึ่ง คล้ายเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีหรือซีดีที่เราคุ้นเคยกัน

ตัวเครื่อง Internet TV ทั้ง 2 แบบสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ท่านมีอยู่แล้วได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็น จานดาวเทียม เคเบิลทีวี เครื่องเล่นดีวีดี ซีดี หรือ อินเทอร์เนต ซึ่งเชื่อว่าเกือบทุกๆ หลังคงมีสิ่งเหล่านี้พร้อมอยู่แล้วสำหรับการใช้งาน Internet TV 

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

Cloud Storage ก้อนเมฆเก็บข้อมูล



        หลายคน คงสงสัยว่า Cloud Storage คืออะไร อธิบายแบบง่ายๆ เลยก็คือ ที่เก็บข้อมูลไว้บนอินเตอร์เน็ต สามารถฝากไฟล์และดึงไฟล์ออกได้อย่างสะดวก โดยต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง ทำให้บริการของ Cloud Storage ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีปัจจัยที่สนับสนุนอย่างการเติบโตของอุปกรณ์โมบายต่างๆ ทั้ง Smart Phone และ Tablet ทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้สบายมากขึ้น

ประโยชน์ของการใช้งาน Cloud Storage
          •   สามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา
          •   สามารถเพิ่มขนาดจัดเก็บไฟล์ได้
          •   คุ้มค่ามากกว่าการซื้ออุปกรณ์จัดเก็บไฟล์อย่างพวกฮาร์ดดิสก์
          •   ไม่มีความเสี่ยงกับในเรื่องของอุปกรณ์จัดเก็บไฟล์เสีย
          •   ได้รับบริการเสริมต่างๆ เช่น การสำรองข้อมูล การรับประกันในกรณีข้อมูลสูญหาย เป็นต้น

ข้อเสียของการใช้งาน Cloud Storage
          •   จำเป็นต้องใช้งานผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น
          •   ความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งอาจถูกแฮ็กข้อมูลได้
          •   เสียค่าบริการ ในกรณีที่มีการฝากไฟล์เกินขนาดที่ผู้ให้บริการแต่ละรายกำหนด

            ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการ Cloud Storage รายใหญ่ๆ จำนวน 4 ราย ซึ่งก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เราไปทำความรู้จักกับบริการ Cloud Storage ของแต่ละรายกันเลยดีกว่าครับ

SkyDrive จาก Microsoft



          SkyDrive เป็นหนึ่งในการบริการของ Windows Live (ที่มีการเปลี่ยนจาก Hotmail) ซึ่งทำหน้าที่ Cloud Storage เริ่มให้บริการมานานแล้วแต่ไม่เป็นที่รู้จัก เหตุผลที่ SkyDrive ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ก็คือ “มาเร็วเกินไป” ในสมัยก่อนยังไม่มีคำว่า Cloud Computing ด้วยซ้ำ อีกทั้งรูปแบบนั้นยังใช้งานยาก แล้วยังจำเป็นที่จะต้องต่อกับอินเตอร์เน็ตทำให้ความสะดวกในการใช้ไม่มีค่อยมีมากนัก มาตอนหลัง Microsoft ได้ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยมีพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟรีๆ ถึง 7GB ถือว่าเยอะมากและสามารถเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลฟรีได้มากถึง 25GB นอกจากนี้ยังความสะดวกสบายด้วยการ Sync ข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยรองรับการทำงานได้ทั้งบน PC และ MAC  ส่วน APP ในกลุ่มโมบาย แน่นอนว่าจะรองรับ Window Phone เป็นอันดับแรก อีกแพลตฟอร์มคือ iOS ส่วน Android ไม่ต้องน้อยใจไป เชื่อว่าตอนนี้ กำลังมีการพัฒนาออกมาให้อยู่

Google Drive จาก Google

        
          อีกหนึ่งเจ้ารายใหญ่ทางอินเตอร์เน็ตอย่าง Google ก็ได้เริ่มสร้างกระแสบริการ Cloud Storage ขึ้นมาในชื่อ Google Drive ที่อัพบริการจาก Google Docs ซึ่งมีพื้นที่ที่ให้บริการทั้งหมด 5GB สามารถเข้าได้ทั้งทางเว็บในเวอร์ชั่น Windows และ MAC OS X และอุปกรณ์แท็บเล็ตแบบ Android ก็สามารถเข้าไปแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้อย่างอิสระ

iCloud จาก Apple


             Apple iCloud หรือ iCloud ที่เรารู้จักกันก็เป็นบริการแบบ Cloud Storage เช่นกัน โดย iCloud ก็มีพื้นที่ที่จะให้บริการทั้งหมด 5GB สามารถเข้าได้ทั้งทาง ไอแพด ไอโฟนและยังสามารถเข้าได้ทางคอมพิวเตอร์แต่ถ้าจะใช้งานเราก็จะต้องมี Apple ID และอนุญาตให้เก็บไฟล์ข้อมูลฟรีเป็นบางประเภทเท่านั้น เช่น รูปภาพ ถ้าต้องการที่จะเก็บไฟล์รูปแบบอื่นท่านก็ต้องไปโหลด แอพพลิเคชั่นต่างหากและไม่มี feature แชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์ใดๆ

 Dropbox

        Dropbox ให้บริการพื้นที่เก็บฟรี 2GB และสามารถใช้ได้สูงสุดถึง 5GB โดยที่เราต้องทำตามเงื่อนไขของ Dropbox และสามารถเข้าใช้งาน Dropbox ได้ในระบบคอมพิวเตอร์เวอร์ชั่น Windows, MAC OS X และ Linux และอุปกรณ์มือถืออย่าง Smart Phone, Tablet ทั้ง iOS , Android และ BlackBerry นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้

เปรียบเทียบการให้บริการ Cloud Storage ทั้ง 4 ราย

การให้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
SkyDrive
iCloud
Google Drive
Dropbox
พื้นที่จัดเก็บออนไลน์ (ฟรี)
7 GB
5 GB*
5 GB
2 GB
อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้งานได้
   
 
 
   

* iCloud อนุญาตให้เก็บไฟล์ฟรีได้เฉพาะไฟล์บางประเภทเท่านั้น อย่างเช่น รูปภาพ ในกรณีต้องการเก็บไฟล์เอกสาร iWork ในระบบ iCloud ผู้ใช้ต้องซื้อ iWork App เพิ่ม

        ในกรณีถ้าผู้ใช้ต้องการบริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์เพิ่มเติมจากที่ให้บริการแบบฟรี ผู้ใช้ก็สามารถรับบริการเพิ่มเติมจากเดิมได้แต่ต้องเสียค่าบริการ โดยมีอัตราค่าบริการดังนี้

SkyDrive คิดอัตราบริการต่อปีถูกที่สุด โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก 3 ขนาด คือ
          •   20 GB อัตราค่าบริการประมาณ 300 บาท (10$)
          •   50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 750 บาท (25$)
          •   100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,500 บาท (50$)

Apple iCloud คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก 2 ขนาด คือ
          •   20 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,200 บาท (40$)
          •   50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 3,000 บาท (100$)

Google Drive มีพื้นที่ความจุให้เลือกขนาดเดียวคือ
          •   100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 1,800 บาท (60$) ต่อปี

Dropbox คิดอัตราบริการต่อปี โดยมีพื้นที่ความจุให้เลือก 2 ขนาด คือ
          •   50 GB อัตราค่าบริการประมาณ 2,970 บาท (99$)
          •   100 GB อัตราค่าบริการประมาณ 5,790 บาท (199$)


วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

Cloud Computingคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจในปัจจุบัน


Cloud Computing คืออะไร



          คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น

           Cloud หรือบางคนก็บอกว่า Cloud Computing มันคืออะไร ค้นในเน็ตเจอคำแปลต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่บอกว่า การประมวลผลบนก้อนเมฆ… ถ้าสำหรับแบบที่ผมคิดนะ ผมว่าก็คือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรานี่แหละ แต่แทนที่จะต้องมาประมวลผล หรือทำงานแบบเดิมคือทำบน PC แบบที่เราเคยใช้ๆกันอยู่มันจะย้ายไปทำงานผ่านพวก WEB Browser บนโลกอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เดิม เราใช้ Microsoft Word, Excel, Power Point โดยเราต้องเปิด PC แล้วรอมัน Windows มันบู๊ต แล้วเราก็เลือกไอคอน โปรแกรม แล้วก็คลิ๊กเปิด แล้วก็ใช้งาน

Cloud Computing

           แต่ถ้าเป็น Cloud Computing หรือ Cloud Service คือเราเข้าอินเตอร์เน็ตให้ได้ และเราก็จะใช้งานโปรแกรมอะไรก็ตามแต่ ผู้ให้บริการบนโลกอินเตอร์เน็ต เขาก็จะเตรียมไว้ให้เราแล้ว (แต่ถ้าเข้าอินเตอรเน็ตไม่ได้…ก็เกิดเรื่องกันละทีนี้) เอาให้ง่ายเข้าไปอีก ลองคิดถึงแต่ก่อนเราอาจจะต้องใช้ Outlook หรือ Lotus Note ในการทำงานเพื่อเปิดเครือ่งเพื่อรับเมล์ เดี๋ยวนี้เราจะเห็น มี Google, Hotmail หรือ Yahoo ให้เราสามารถเช็คเมล์ได้ โดยเฉพาะ Google พี่ท่านกะล็อกทุกอย่าง หรือครองโลกออนไลน์เลยก็ว่าได้ เดี๋ยวถ้าเรามี Domain แล้วไม่ต้องการมี Server หรือตั้งระบบ Mail Server เราสามารถไปเช่าใช้บริการผูกเมล์เราเข้ากับระบบ Gmail ของ Google ได้อีกต่างหาก

Cloud Computing

          อีกหน่อย ในความคิดผมนะ เครื่อง PC หรือ Notebook ต่อไปเปิดมา อาจจะไม่ต้องเปิดผ่าน Windows เลยก็เป็นไปได้ คือเปิดขึ้นมากลายเป็น WEB OS เลย ก็คือแบบเปิดปุ๊บ เข้าอินเตอร์เน็ตทันที อยากใช้โปรแกรมอะไรก็แค่ เรียก หรือเปิดใช้บริการเอา อาจจะมีทั้งแบบฟรี หรือเสียเงินก็ว่ากันไป และแนวโน้มก็ค่อนข้างจะไปทางนั้นแหละผมว่า เพราะเดี๋ยวนี้เราเริ่มมีอุปกรณ์พวก tablet หรือ มือถือ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ตได้แบบทันทีที่เปิดเครื่อง และแนวโน้มของคนที่จะใช้ tablet นั้น ผมขอเดาว่าอีกไม่นาน 1-2 ปีนี้ จะมีปริมาณที่มากกว่า PC หรือ Notebook กว่าในอดีตมาก โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ที่จะโตไวมาก เพราะมันชัดแล้วว่า เทคโนโลยีจะไวขึ้นเรื่อยๆ ขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และราคาก็จะถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกเพศ ทุกวัย          อันนี้ก็คือวีดีโอที่พอดีไปค้นเจอมา โดยรายงานพิเศษจากรายการแบไต๋ไฮเทคที่สามารถจะอธิบายเรื่องของคำศัพท์แห่งยุค Cloud Computing ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างชัดเจน ใครที่สนใจเทคโนโลยี server สมัยใหม่ต้องดู อธิบายแบบไทยๆ ให้ดูเข้าใจง่าย (ขอบคุณ วีดีโอจากรายการ แบไต๋ไฮเทค ด้วยนะครับ)




ประโยชน์ของ cloud computing

-มีความคล่องตัว ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลจาก Server ได้ตามต้องการ มีความยืดหยุ่น สามารถขยายหรือลดโครงสร้างพื้นฐานได้สะดวกและง่ายต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง-Reduction in costs: มีต้นทุนที่ลดลงเนื่องจากผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Server ขนาดใหญ่ด้วยตนเอง  ลดภาระต้นทุนเกี่ยวกับการติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ประมวลผลขนาดใหญ่-Freedom of Location :  มีอิสระจากอุปกรณ์ และสถานที่  เพราะผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้-Scalability and speed :  การขยายตัวเป็นแบบ (Scalability)  สูง สามารถเข้าถึงแพลทฟอร์มที่หลากหลายและความสามารถในการทำงานร่วมกับแพลทฟอร์มที่ยึดหยุ่นและมีศักยภาพด้วยโครงสร้างที่หลากหลาย-มีความไว้วางใจ (Reliability)  สูงขึ้น-มีความปลอดภัย (Security) สูง เนื่องจากทุกๆ โปรแกรมและไฟล์ทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ใน Supercomputer ส่วนกลางที่มีขนาดใหญ่หรือจัดเก็บอยู่ใน Network ความเร็วสูง-มีความยั่งยืน (Sustainability)  ซึ่งได้จากการใช้ทรัพยากรที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ-Reduce run time and response time : เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของโปรแกรมประยุกต์  ทำให้โปรแกรมที่มีการคำนวณและประมวลผลที่ยุ่งยากและซับซ้อนสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น-Enabling Innovation: ได้รับบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เสมอ-Ease of Use:  ใช้งานง่าย โดยเปรียบเหมือนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

      Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไปการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  ด้วยการใช้ Search Engine 

                                                           

                                   ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการ  Search Engine







 1.  การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด ใช้ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกับความต้องการ โดยมากจะนิยมใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่จะสืบค้นข้อมูล มีวิธีการค้นหาได้ดังนี้
          1.1 เปิดเว็บเพจ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูล  ตัวอย่างเช่น
                    www.google.co.th เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นข้อมูลของต่างประเทศ ข้อดีคือ ค้นหาง่าย เร็ว
                    www.yahoo.com เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นที่ดีตัวหนึ่งซึ่งค้นหาข้อมูลง่าย และข้อเด่นคือภายในเว็บของ www.yahoo.com เองจะมีฟรีเว็บไซต์ ที่รู้จักกันในนาม http://www.geocities.com ซึ่งมีจำนวนเว็บมากมาย ให้ค้นหาข้อมูลเองโดยเฉพาะ
                    www.sanook.com เป็นเว็บของคนไทย
                    www.siamguru.com  เป็นเว็บของคนไทย
                    โดยพิมพ์ช่องเว็บที่ช่อง Address  ดังตัวอย่างซึ่งใช้  www.google.co.th


   1.2 ที่ช่อง ค้นหา พิมพ์ข้อความต้องการจะค้นหา ในตัวอย่างจะพิมพ์คำว่า แหล่งท่องเที่ยวเมืองโคราช
   1.3 คลิกปุ่ม ค้นหาด้วย Google
             
                    

   1.4 จากนั้นจะปรากฏรายชื่อของเว็บที่มีข้อมูล

                                           

1.5 คลิกเว็บที่จะเรียกดูข้อมูล

                                         

  2.  หลักการใช้คำในการค้นหาข้อมูล               การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด เช่น ถ้าต้องการจะสืบค้นเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ การค้นหาจึงต้องการเนื้อหาที่เจาะลึก  การสร้างคำคีย์เวิร์ด  ต้องใช้คำที่เจาะลึกลงไปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เฉพาะคำมากยิ่งขึ้น           2.1  การใช้คำที่คิดว่าจะมีในเว็บที่ต้องการจะค้นหา เช่น ต้องการจะหาข้อมูลเกี่ยวกับ บุคคล ที่ชื่อว่า นาย อุบล ถ้าเราพิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล แล้วทำการค้นข้อมูล Search Engine จะทำการค้นหาคำ โดยจะค้นหารวมทั้งคำว่า จังหวัดอุบล     อุบลราชธานี     คนอุบล   วิทยาลัยเกษตรอุบล      เทคโนโลยีอุบล ซึ่งเราจะเจอะ ข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นการใช้คำในการค้นหาข้อมูลจึงต้องใช้คำเฉพาะเพื่อให้ได้ข้อมูล ที่น้อยลง  เช่น อาจจะพิมพ์คำว่า นาย อุบล พิมลวรรณ ซึ่งข้อมูลจะมีจำนวนที่น้อยลง

         ตัวอย่าง  พิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล         


 2.2 ใช้เครื่องหมาย คำพูด  (“ _ ”) เพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มคำ เช่น จะค้นหาคำ ชื่อหนังสื่อที่ชื่อว่า โปรแกรม PhotoShop สังเกตว่าคำที่จะค้นหา จะเป็นคำที่ต้องเว้นวรรค  แต่เมื่อมีการสืบค้นด้วย Search Engine ระบบจะค้นหาคำแบ่งเป็นสองคำ คือคำว่า โปรแกรม และคำว่า PhotoShop จึงทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาด ดังนั้นการสร้างคำ จึงต้องกำหนดคำด้วยเครื่องหมายคำพูด จึงใช้คำว่า “โปรแกรม PhotoShop” ในการค้นหาแทน

                            

 2.3ใช้เครื่องหมาย ลบ (-) ไว้หน้าคำที่ไม่ต้องการจะให้ปรากฏอยู่ในรายการแสดงผลของการค้นหา เช่น ต้องการหาชื่อโรงเรียน แต่ทราบแล้วว่าโรงเรียนที่จะค้นหาไม่ใช้โรงเรียนอนุบาล จึงต้องยกเลิกคำว่าอนุบาล โดยพิมพ์คำว่า โรงเรียน  -อนุบาล ผลที่ได้จะทำให้มีเฉพาะคำว่า โรงเรียน ทั้งหมดแต่จะค้นหาคำว่า อนุบาล (*การพิมพ์เครื่องหมาย ลบกับคำที่จะยกเลิกต้องติดกัน มิฉะนั้นระบบจะเข้าใจว่าจะค้นหาคำ 3 คำ คือ คำว่า โรงเรียน คำว่า + และคำว่า อนุบาล*)

                                        


    การสืบค้นข้อมูลภาพ
          ในกรณีที่นักเรียนต้องการที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นภาพ เพื่อนำมาประกอบกับรายงาน มีวิธีการค้นหาไฟล์ภาพได้ดังนี้

1. เปิดเว็บ www.google.co.th

2. คลิกตัวเลือก รูปภาพ          

                                           


3. พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา (ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ ปราสาทหินพิมาย)




 4. คลิกปุ่ม ค้นหา


5. ภาพทีค้นหาพบ

                                              

6. การนำภาพมาใช้งาน ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as

7. กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in

8. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name

9. คลิกปุ่ม Save

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


1. หลักการและเหตุผล ด้วยในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงมากขึ้น ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์นับเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในการดำเนินคดีอันเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน สอบสวน เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  ดังนั้นจึงกำหนดให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์


2.  คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550)

                     ระบบคอมพิวเตอร์ หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                    “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                     ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                     “ผู้ให้บริการ หมายความว่า
                      (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                       (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                     ผู้ใช้บริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
                     “พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้



3.   หน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะผู้ให้บริการ (มาตรา 14-15 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของ    ผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550 ข้อ 5 - 10 )

                       3.1 ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตนไม่จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ต่อไปนี้
                                3.1.1 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน            3.1.2 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                                3.1.3 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                                3.1.4 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                                3.1.5 เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามข้อ 3.1.1-3.1.4
                        3.2  เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์  การจัดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เฉพาะในส่วนที่เป็นข้อมูลจราจรที่เกิดจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการของกรม ปภ. ดังนี้
                                3.2.1 ข้อมูลอินเตอร์เน็ตที่เกิดจากการเข้าถึงระบบเครือข่าย
                          (1) ข้อมูล Log ที่มีการบันทึกไว้เมื่อมีการเข้าถึงระบบเครือข่ายซึ่งระบุถึงตัวตนและสิทธิในการเข้าถึงเครือข่าย (Access Logs Specific to Authentication and Authorization Servers เช่น TACACS (Terminal Access Controller Access-Control System) or RADIUS (Remote Authentication Dial-In User Service) or DIAMETER (Used to Control Access to IP Routers or Network Access Servers))
                          (2) ข้อมูลเกี่ยวกับวัน และเวลาการติดต่อของเครื่องที่เข้ามาใช้บริการและเครื่องให้บริการ (Date and Time of Connection of Client to Server)
                          (3) เกี่ยวกับชื่อที่ระบุตัวตนผู้ใช้ (User ID)
                          (4) ข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตที่ถูกกำหนดให้โดยระบบผู้ให้บริการ (Assigned IP Address)
                          (5) ข้อมูลที่บอกถึงหมายเลขสายที่เรียกเข้ามา (Calling Line Identification)
                                3.2.2 ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail servers)
                          (1) ข้อมูล Log ที่บันทึกไว้เมื่อเข้าถึงเครื่องให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP Log) ซึ่งได้แก่
                                                 - ข้อมูลหมายเลขของข้อความที่ระบุในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Message ID)
                                                 - ข้อมูลชื่อที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่ง (Sender E-mail Address)
                                                 - ข้อมูลชื่อที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับ (Receiver E-mail Address)
                                                 - ข้อมูลที่บอกถึงสถานะในการตรวจสอบ (Status Indicator) ซึ่งได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งสำเร็จ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งคืน จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งล่าช้า เป็นต้น
                          (2) ข้อมูลหมายเลขชุดอินเตอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บริการที่เชื่อมต่ออยู่ขณะเข้ามาใช้บริการ (IP Address of Client Connected to Server)
                          (3) ข้อมูลวัน และเวลาการติดต่อของเครื่องที่เข้ามาใช้บริการและเครื่องให้บริการ (Date and time of connection of Client Connected to server)
                          (4) ข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์       ที่ถูกเชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้น (IP Address of Sending Computer)
                          (5) ชื่อผู้ใช้งาน (User ID) (ถ้ามี)
                          (6) ข้อมูลที่บันทึกการเข้าถึงข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านโปรแกรมจัดการจากเครื่องของสมาชิก หรือการเข้าถึงเพื่อเรียกข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องสมาชิก โดยยังคงจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกการเข้าถึงข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ดึงไปนั้น ไว้ที่เครื่องให้บริการ (POP3 (Post Office Protocol version 3) Log or IMAP4 (Internet Message Access Protocol Version 4) Log)
                                3.2.3 ข้อมูลอินเทอร์เน็ตจากการโอนแฟ้มข้อมูลบนเครื่องให้บริการโอนแฟ้มข้อมูล
                          (1) ข้อมูล Log ที่บันทึกเมื่อมีการเข้าถึงเครื่องให้บริการโอนแฟ้มข้อมูล
                                            (2) ข้อมูลวัน และเวลาการติดต่อของเครื่องที่เข้ามาใช้บริการและเครื่องให้บริการ (Date and Time of Connection of Client to Server)
                                            (3) ข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้เข้าใช้ที่เชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้น (IP Source Address)
                                            (4) ข้อมูลชื่อผู้ใช้งาน (User ID) (ถ้ามี)
                                            (5) ข้อมูลตำแหน่ง (Path) และชื่อไฟล์ที่อยู่บนเครื่องให้บริการโอนถ่ายข้อมูลที่มีการส่งขึ้นมาบันทึก หรือให้ดึงข้อมูลออกไป (Path and Filename of Data Object Uploaded or Downloaded)
                                3.2.4 ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องผู้ให้บริการเว็บ
                          (1) ข้อมูล Log ที่บันทึกเมื่อมีการเข้าถึงเครื่องผู้ให้บริการเว็บ
                                            (2) ข้อมูลวัน และเวลาการติดต่อของเครื่องที่เข้ามาใช้บริการและเครื่องให้บริการ
                                            (3) ข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้เข้าใช้ที่เชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้น
                                            (4) ข้อมูลคำสั่งการใช้งานระบบ
                                            (5) ข้อมูลที่บ่งบอกถึงเส้นทางในการเรียกดูข้อมูล (URI: Uniform Resource Identifier) เช่น ตำแหน่งของเว็บเพ็จ

                                3.2.5 ชนิดของข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Usenet)
                          (1) ข้อมูล Log ที่บันทึกเมื่อมีการเข้าถึงเครือข่าย (NNTP (Network News Transfer Protocol)Log)
                                            (2) ข้อมูลวัน และเวลาการติดต่อของเครื่องที่เข้ามาใช้บริการและเครื่องให้บริการ (Date and Time of Connection of Client to Server)
                                            (3) ข้อมูลหมายเลข Port ในการใช้งาน (Protocol Process ID)
                                            (4) ข้อมูลชื่อเครื่องให้บริการ (Host Name)
                                            (5) ข้อมูลหมายเลขลำดับข้อความที่ได้ถูกส่งไปแล้ว (Post Message ID)
                                3.2.6 ข้อมูลที่เกิดจากการโต้ตอบกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Internet Relay Chat (IRC) หรือ Instance Messaging (IM) เป็นต้น
                          - ข้อมูล Log  เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับวัน เวลาการติดต่อของผู้ใช้บริการ (Date and Time of Connection of Client to Server) และ ข้อมูลชื่อเครื่องบนเครือข่าย และหมายเลขเครื่องของผู้ให้บริการที่เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้น (Hostname and IP Address) เป็นต้น
                                3.2.7 ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Content Service Provider)
                          (1) ข้อมูลรหัสประจำตัวผู้ใช้หรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ หรือเลขประจำตัว (User ID) ของผู้ขายสินค้าหรือบริการ หรือเลขประจำตัวผู้ใช้บริการ (User ID) และที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการ
                                            (2) บันทึกข้อมูลการเข้าใช้บริการ
                                            (3) กรณีผู้ให้บริการเว็บบอร์ด (Web board) หรือผู้ให้บริการบล็อก (Blog) ให้เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ (Post) ข้อมูล
                        3.3 วิธีการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการต้องใช้วิธีการที่มั่นคงปลอดภัย ดังต่อไปนี้
                                3.3.1 เก็บในสื่อ (Media) ที่สามารถรักษาความครบถ้วนถูกต้องแท้จริง (Integrity) และระบุตัวบุคคล (Identification) ที่เข้าถึงสื่อดังกล่าวได้
                                3.3.2 มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ และกำหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของข้อมูล และไม่ให้ผู้ดูและระบบสามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server หรือการทำ Data Archiving หรือทำ Data Hashing เป็นต้น เว้นแต่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของหรือผู้บริการองค์กร กำหนดให้สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ เช่น ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศขององค์กร (IT Auditor) หรือบุคคลที่องค์กรมอบหมาย เป็นต้น รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
                                3.3.3 จัดให้มีผู้มีหน้าที่ประสานงานและให้ข้อมูลกับพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เพื่อให้การส่งมอบข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
                                3.3.4 ในการเก็บข้อมูลจราจรนั้น ต้องสามารถระบุรายละเอียดผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้ (Identification and Authentication) เช่น ลักษณะการใช้บริการ Proxy Server, Network Address Translation (NAT) หรือ Proxy Cache หรือ Cache Engine หรือบริการ Free Internet หรือบริการ 1222 หรือ WI-Fi Hotspot ต้องสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง
                                3.3.5 การให้บริการในนามของตนเอง แต่เป็นบริการที่ใช้ระบบของผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้บริการที่เข้ามาในระบบนั้นเป็นใคร ผู้ให้บริการจะต้องดำเนินการให้มีวิธีการระบุและยืนยันตัวบุคคล (Identification and Authentication) ของผู้ใช้บริการผ่านบริการของตนเองด้วย
                                3.3.6 ผู้ให้บริการต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล (Stratum 0) โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที  เพื่อให้ข้อมูลจราจรมีความถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง
                        3.4 ระยะเวลาการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์  ผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ และจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง โดยแยกเป็นประเภทของผู้ให้บริการ ดังนี้
                                3.4.1 ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access Service Provider) จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป (เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
                                3.4.2 ผู้ให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ (Content and Application Service Provider) เช่น ผู้ให้บริการเว็บบอร์ด (Web board) หรือผู้ให้บริการบล็อค (Blog) จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป (เมื่อพ้นหนึ่งปีวันนับจากวันประกาศใน        ราชกิจจานุเบกษา)
                        3.5 บทกำหนดโทษ ผู้ให้บริการตามพระราชบัญญัตินี้มีโทษทางอาญา หากได้ดำเนินการ ดังนี้
                                3.5.1 ไม่เก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ มีโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท (มาตรา 26 )
                                3.5.2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง  (มาตรา 27)
                                3.5.3 ไม่ควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตนจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 14, 15 และมาตรา 26)